3. นวัตกรรม คืออะไร
กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) ได้กล่าวไว้ว่านวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้ การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:61) ได้กล่าวไว้ว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Lnnovation โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม โดย นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมกันเป็นคำว่านวัตกรรม จึงแปลว่า การกระทำที่ใหม่ๆของตนเองหรือการกระทำของตนเองที่ใหม่
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:7) ได้กล่าวสรุปแนวคิดเกี่ยวกับ นวัตกรรมไว้ดังนี้ คือ
1) มีการจัดระบบขั้นตอนการดำเนินงานที่เหมาะสมก่อนทำการเปลี่ยนแปลง
2) อาจจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช่ไม่ได้ผลในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น
3) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าสิ่งใหม่นั้นให้การแก้ปัญหาและดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพ
4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน
เอกวิทย์ แก้วประสิทธิ (2545:31) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการหรือการกระทำใดๆที่เป็นการกระทำใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มีผู้คิดค้นหรืออาจปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือให้ดีขึ้นเพื่อใช้สิ่งนั้นในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเกิดนวัตกรรมการศึกษาจะมาจากแนวคิด คือ ด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านความพร้อม ด้านการใช่เวลาเพื่อการศึกษา ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร
สรุป
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรม มีความหมาย 3 นัย คือ นวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน หรือเป็นสิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วแต่นำมาใช่ใหม่ และการนำนวัตกรรมเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาดัดแปลงใหม่ให้ดีขึ้งและนำมาใช้ใหม่และที่สำคัญคือ นวัตกรรมนั้นจะต้องช่วยในการจัดการเรียนรู้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
อ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แดก เน็ตอินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2552
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. เทคโนโลยีการศึกษาหลักการและแนวคิดสู่ปฎิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2545
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น