วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การนำเสนอข้อมูลสถิติ

การนำเสนอข้อมูล
        การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ

 ความสำคัญของการนำเสนอ

        ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ 

 จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
  1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
  2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ
  4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

 ประเภทของการนำเสนอ

        ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
  1. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม
  2. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

        ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
        1. ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง
        2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน
        คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้
        นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ

 ประเภทของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม
        เมื่อเราพลิกไปในหน้าหนังสือพิมพ์ เรามักพบเห็นข้อมูลกราฟที่แสดงสภาพทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ดัชนีตลาดหลัดทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ลักษณะของกราฟที่นำเสนอมักแสดงด้วยเส้นกราฟ
ตัวอย่างของการนำเสนอยอดขายแต่ละปีของบริษัทแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี คศ. 1975 จนถึงปี 1999 โดยมีข้อมูลดังนี้
ภาพ:ยอดขาย.jpg
        การพล็อตแบบอนุกรมเวลา เราให้แกน X เป็นแกนทางด้านเวลา และกราฟที่ พล็อต ก็เป็นกราฟเส้นตรง
ภาพ:ยอดขาย1.jpg
        กราฟเส้นเป็นกราฟที่แสดงให้เห็นแนวโน้มหรือสภาพการเจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงไปตามแกน X เราจึงมักนำมาใช้ในเรื่องของอนุกรมเวลา เช่น กราฟแสดงการขาย กราฟแสดงการผลิต กราฟแสดงดัชนีที่สำคัญต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ฮิสโตแกรม
        ลองดูตัวอย่างของข้อมูลชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นคะแนนสอบคัดเลือกของนักเรียน 25 คน โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน ผู้ที่สอบได้คะแนน ดังต่อไปนี้
ภาพ:คะแนน.jpg
        เมื่อนำคะแนนทั้งหมดมาแจกแจงทางความถี่ผลที่ได้
ภาพ:ระดับชั้น.jpg
        เมื่อนำมาเขียนกราฟแบบฮิสโตแกรมได้ดังรูป
ภาพ:กราฟความถี่.jpg
        กราฟฮิสโตแรม แสดงลักษณะการแจกแจงทางความถี่ เพื่อบอกคุณลักษณะของข้อมูล
กราฟ HI - LO
        ในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ราคาของหุ้นที่มีการซื้อขายกันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสภาพของความต้องการของผู้ซื้และผู้ขาย ราคาหุ้นของแต่ละบริษัทจึงเคลื่อนไหวได้ หากพิจารณาตัวเลยที่ประกาศบนหน้าหนังสือพิมพ์ มักจะเห็นราคาที่เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ราคาเมื่อเวลาปิดตลาด หรือที่เราเรียกว่าราคาปิด หรือ บางครั้งก็จะบอกราคาเมื่อตอบเปิดตลาด ในระหว่างวันจะมีการเคลื่อนไหวของราคาซึ่งย่อมทำให้มีราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดในแต่ละวัน
        สมมุติว่า เรามีบันทึกราคาหุ้นของบริษัท ก. ที่มีการซื้อขายฝ่ายตลาดหลักทรัพย์ การบันทึกแต่ละวันมีการบอกราคาสูงสุดในวันนั้น และราคาต่ำสุดในวันนั้น ข้อมูลที่ได้เป็นดังนี้
ภาพ:ราคา.jpg
        การเขียนกราฟในลักษณะกำหนดจุดสูงสุด และต่ำสุด ทำให้เราเข้าใจขอบเขตของข้อมูลที่มีการซื้อขายในแต่ละวันได้ดี
ภาพ:กราฟราคา.jpg
กราฟแท่ง
         กราฟแท่งแสดงถึงสภาพการเปรียบเทียบให้เห็นว่า แต่ละแท่งมีความสูงแตกต่างกันอย่างไร เช่นเปรียบเทียบยอดการขายของแต่ละเดือนของบริษัทหนึ่งซึ่งมีข้อมูลดังนี้
ภาพ:กราฟแท่ง.jpg
        เมื่อนำมาทำการเขียนกราฟ รูปแบบของการนำเสนอเป็นกราฟแท่งทำได้หลายแบบ ดังนี้
ภาพ:กราฟแท่ง3_มิติ.jpg
        กราฟแท่งจึงมีลักษณะของการเปรียบเทียบโดยแกน X เป็นแกนที่แสดงกลุ่มของข้อมูลซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลข แต่จะเป็นชื่อข้อมูลเช่นเดียวหรือสินค้าแต่ละชนิด
กราฟวงกลม(pie chart)
        การแสดงข้อมูลในรูปแบบตัวเลยหรือตารางอาจทำให้ดูคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลได้ยาก เช่น ดูแนวโน้ม ดูสัดส่วน ความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละตัว ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการสร้างกราฟให้สื่อความหมาย
        ลองดูตัวอย่างข้อมูล.... แสดงจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงในประเทศไทยในปี 2540 - 2541
ภาพ:ข้อมูล.jpg
        การแสดงข้อมูลในรูปตารางย่อมดูยากที่จะบอกว่า ปี 2540 กับ ปี 2541 เปรียบเทียบกันเป็นอย่างไร วิธีการที่แสดงให้ดูได้ง่ายคือ การแสดงผลในรูปกราฟแท่ง
ภาพ:กราฟแท่ง2.jpg
        หากมองผิวเผิน จะดูได้ทันทีว่าสัตว์แต่ละประเภทมีเท่าไร อะไรมากกว่ากัน แต่ละปีของปีพ.ศ. 2540 และ 2541 มีการเพิ่มลด การเลี้ยงไปเท่าไร การแสดงผลด้วยภาพให้ความสะดวกรวดเร็วในการทำความเข้าใจ แต่ถ้าอยากทราบว่าในปีพ.ศ. 2540 การเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ นี้มีสัดส่วนเป็นอย่างไร การเขียนกราฟก็คงต้องใช้กราฟวงกลม ทั้งนี้เพราะกราฟวงกลมช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องสัดส่วนได้ดี
ภาพ:กราฟวงกลม.jpg
กราฟ Scattering
        การเขียนกราฟมีวิธีการนำเสนอได้หลายแบบ ตามสภาพที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ สมสุติว่ามีข้อมูลชุดหนึ่งเป็นข้อมูลราคาเฉลี่ยของหุ้นในแต่ละเดือน ของบริษัท ก และบริษัท ข การเขียนกราฟมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเปรียบเทียบคู่ข้อมูลระหว่างเดือนเดียวกันลองดูตัวอย่างข้อมูล
ภาพ:ราคาหุ้น.jpg
        การเปรียบเทียบกันระหว่างเดือนของแต่ละบริษัทจึงใช้วิธีการเขียนกราฟแบบ scatter ซึ่งให้แกน x แทนราคาหุ้นของบริษัท ก และแกน y แทนราคาหุ้นของบริษัท ข จุดที่เขียนได้จึงเป็นจุดที่เป็นคู่ลำดับของราคาหุ้นบริษัท ก และราคาหุ้นของบริษัท ข ซึ่งทุกจุดจึงเป็นสิ่งที่จะเปรียบเทียบกันได้
ภาพ:ราคาหุ้น1.jpg

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


           (http://library.rsu.ac.th/pdf/v13n1chapter3.pdf ) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งปกติสื่อหลายมิติจะนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเนื้อหา ลิงค์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ออกแบบสำหรับผู้เรียนทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันในการรับข้อมูลจากสื่อหลายมิติ ดังนั้นสื่อหลายมิติแบบปรับตัวจึงเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อหลายมิติและระบบการสอนที่ฉลาดในการตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน โดยสื่อหลายมิติแบบปรับตัวเป็นการพยายามที่จะพัฒนารูปแบบ ให้สามารถปรับตัวและตอบสนองผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1) รูปแบบหลัก 2) รูปแบบผู้เรียน 3) รูปแบบการปรับตัว

             (http://gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932) ได้กล่าวไว้ว่า รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนว่าสื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1. รูปแบบหลัก 2. รูปแบบผู้เรียน 3. รูปแบบการปรับตัว

.         (http://www.edtechno.com/site/index.php?option=com) รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน มีองค์ประกอบหลักดังนี้

      1.รูปแบบหลัก (Domain Model: DM) เป็นรูปแบบโครงสร้างหลักของข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่นำเสนอให้แก่ผู้เรียนลักษณะโครงสร้างของสื่อหลายมิติ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้

         1.1แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) เป็นแบบที่ไม่มีโครงสร้างความรู้ ผู้เรียนต้องเปิดเข้าไปโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าจอแต่ละเรื่อง มีความยืดหยุ่นสูงสุดของการจัดรวบรวม เป็นการให้ผู้เรียนได้กำหนดความก้าวหน้าและตอบสนองความสำเร็จด้วยตนเอง

         1.2แบบเป็นลำดับขั้น (Hierarchical) เป็นการกำหนดการจัดเก็บความรู้เป็นลำดับขั้น มีโครงสร้างเป็นลำดับขั้นแบบต้นไม้ โดยให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าไปทีละขั้นได้ทั้งจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนโดยมีระบบข้อมูลและรายการคอยบอก

          1.3แบบเครือข่าย (Network) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างจุดร่วมของฐานความรู้ต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ความซับซ้อนของเครือข่ายพึ่งพาความสัมพันธ์ระหว่างจุดร่วมต่างๆ ที่มีอยู่

      2. รูปแบบของผู้เรียน (Student Model: SM) เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอเพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล

      3. รูปแบบการปรับตัว (Adaptive Model: AM) เป็นรูปแบบของความสามารถในการปรับตัวของระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบหลัก (Domain Model) และรูปแบบของผู้เรียน

     3.1 การนำเสนอแบบปรับตัว (adaptive presentation) ซึ่งเป็นแนวคิดสำหรับการปรับเปลี่ยนในระดับเนื้อหา กล่าวคือ ระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเพื่อนำเสนอข้อมูล ที่แตกต่างกันออกไป

     3.2 การสนับสนุนการนำทางแบบปรับตัว (adaptive navigation support) เป็นแนวคิดเพื่อช่วยสนับสนุนกันเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาแต่ละหน้า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดตามเนื้อหาได้โดยไม่หลงทาง จากแนวคิดนี้มีวิธีการสนับสนุนหลายแบบดังนี้

       3.2.1 การแนะโดยตรง (Direct guidance) เป็นระบบที่ง่ายที่สุด คือ เมื่อผู้เรียนจะไปยังหน้าถัดไป ระบบจะเสนอหน้าถัดไปที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้เรียน และเมื่ออ่านตามลำดับแล้วจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีที่สุด

        3.2.2 การเรียงแบบปรับตัว (Adaptive ordering) เป็นแนวคิดในการจัดเรียงหน้าของเนื้อหาให้เป็นไปตามโมเดลของผู้เรียน เพื่อให้การเชื่อมโยงเป็นไปอย่าง เหมาะสมที่สุด แต่แนวคิดนี้ก็ยังมีปัญหาตรงที่การเรียงลำดับ อาจจะไม่เหมือนกันทุกครั้งทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนได้

       3.2.3 การซ่อน (Hiding) เป็นแนวคิดที่จะซ่อนหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อกันผู้เรียนจากการเข้าไปอ่านในส่วนที่ไม่จำเป็น หรือไม่เกี่ยวข้อง

        3.2.4 บรรณนิทัศน์ปรับตัว (Adaptive annotation) เป็นแนวคิดที่จะเสริมเนื้อหา เพิ่มเข้าไปเพื่ออธิบายภาพรวมของแต่ละหน้า ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายก่อนที่จะศึกษาในรายละเอียด

         สรุป

      ดังนั้นสรุปได้ว่า รูปแบบสื่อหลายมิติ หมายถึง การหาข้อมูลหรือสืบค้นข้อมูลหลายอย่างภายในเวลาเดียวกัน

รูปแบบสื่อหลายมิติมี 3 แบบ คือ

1) แบบไม่มีโครงสร้าง

2) แบบเป็นลำดับขั้น

3) แบบเครือข่าย

        อ้างอิง

(http://www.edtechno.com/site/index.php?option=com)

(http://gotoknow.org/blog/429502-52920126/281932)

(http://library.rsu.ac.th/pdf/v13n1chapter3.pdf )
9. สื่อประสม คืออะไร


           คณิตา นิจจรัสกุล (2535:7) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมไว้ว่า การนำสื่อประเภทต่างๆทั้งที่เป็นเครื่องมือวัสดุและวิธีการมาใช้กันอย่างสัมพันธ์กันในลักษณะที่สื่อแต่ละอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน

            กิดานันท์ มลิทอง (2540:255) ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสมไว้ว่า การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้รวมกันทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา

             เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545:249) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อประสมหมายถึงการรวบรวมการทำงานของสื่อที่มีคุณลักษณะหลายอย่างเข้าด้วยกันหรือหมายถึงสื่อหลายชนิดที่นำมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบสัมพันธ์กันเพื่อช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระโดยสื่อแต่ละชนิดที่นำมาใช้ต้องมีความสัมพันธ์สนับสนุนซึ่งกันและกัน

            วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:23) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อประสมหมายถึงการนำสื่อที่หลากหลายที่มีความสัมพันธ์กันมีคุณค่าในตัวของมันเอง สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี สื่อบางชนิดใช้เพื่อก่อนให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง จะช่วยให้ตัวผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน การใช้สื่อประสมถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างหนึ่ง

           สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อประสมหมายถึงการนำสื่อหลายๆชนิดมาใช้ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนการสอน

           อ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540

คณิตา นิจจรัสกุล. สื่อการสอนงานกราฟฟิคและวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่1. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2535

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี : สกายบุ๊คส์จำกัด, 2551

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.เทคโนโลยีการศึกษาหลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2545
8. สื่อการสอน คืออะไร


                กิดานันท์ มลิทอง (2540:79) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอนหมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ  ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี

                รุ่งทิวา จักร์กร (2527:6) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอนหมายถึง เครื่องช่วยในการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ และเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมการเรียนต่างๆด้วย

                 วรวิทย์ นิเทศศิลป์ (2551:12) ได้กล่าวไว้ว่าสื่อการสอนหมายถึง วัสดุและอุปกรณ์หรืออาจจะเป็นวิธีการที่เป็นตัวกลางของการถ่ายทอดในการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความเข้าใจที่ตรงกัน

                 http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-l3225.htnl   ได้กล่าวไว้ว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งที่ใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

              สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสื่อการสอนหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการหรือกระบวนการที่ครูหรือผู้สอนใช้ประกอบการสอนเพื่อช่วยในการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ไปยังผู้เรียนเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและบรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน

              อ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540

วรวิทย์ นิเทศศิลป์. สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี : สกายบุ๊คส์จำกัด, 2551
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-l3225.htnl
7. เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


                 (http://gotoknow.org/blog/klick2know/106346 ) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คือ การเรียนการสอนในปัจจุบันเราจัดในห้องเรียนมีครู-อาจารย์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แต่แนวโน้มของการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่สามารถคิดเป็นทำเป็น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และเป็นองค์ความรู้ ที่จะต้องได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาได้เต็มศักยภาพ ที่แตกต่างกันของบุคคล ครูจะกลายมามีบทบาท ในการให้ความช่วยเหลือแนะนำ ในการเรียนการสอน ดังนั้นด้วยในคุณสมบัติที่ดีของศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สามารถสร้างห้องเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการศึกษาแบบe-Education ซึ่งสามารถออกแบบ หลักสูตร,เนื้อหา,กระบวนการเรียนการสอนและบทเรียนที่บรรจุข้อมูล ทั้งตัวอักษรและรูปภาพให้ผู้เรียนลงทะเบียนเข้ามาศึกษาได้และ สามารถประเมินผลได้ด้วยตนเองหลังจากเรียนจบแต่ละหน่วย การเรียนและยังจะมีโอกาสฝึกฝนจนรู้จริงซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบ บทเรียนโดยนักออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งจะเป็นครูผู้เชี่ยวชาญพิเศษในยุคอนาคตที่สามารถจัดการเรียนรู้ ในรูปแบบe-Learningนั่นเอง



               (มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนรู้ การศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาโดยให้การศึกษาต่อประชาชนในประเทศด้วยโลกแห่งเทคโนโลยี ซึ่งเน้นไปที่ปัจจัยความรอบรู้ของคนในชาติกับการสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู้แหล่งความรู้โลก เน้นการเรียนรู้ให้ได้มากๆรวดเร็วใช้เวลาน้อยต้นทุนต่ำ และมีบทบาทที่สำคัญการปฎิรูปและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นไดหลากหลาย ดังต่อไปนี้

1) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)

2) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (electronic library)

3) ห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom)

4) การเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic learning)

5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book)



             (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html) ได้กล่าวไว้ว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ มีการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสารอย่างสูง ในสถานศึกษาเองก็เช่นกัน ก็ต้องมีการแข่งขันด้านข้อมูลข่าวสาร ปัจจุบันมีความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมากในสถานศึกษาแต่ในหลายปัจจัยและองประกอบด้านความพร้อมของสถานศึกษานั้นไม่เท่ากัน โรงเรียนเล็กๆไม่เทียบเท่าอย่างโรงเรียนใหญ่ๆการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตควรให้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม ฉะนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจังและยั่งยืน

           สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในการศึกษาในปัจจุบันนี้ค่อนข้างมาก เนื่องมาจากการเก็บข้อมูลหรือการทำแบบเรียนบนอินเตอร์เน็ตซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้จากที่บ้าน หรือที่ไหนก็ได้ของโลกที่มีอินเตอร์เน็ตทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก

          อ้างอิง

ไม่ระบุ. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, 2550

(http://gotoknow.org/blog/klick2know/106346 )

(http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html)
6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


          (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html) เทคโนโลยีสารสนเทศจึง หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

           (http://www.konmun.com/Article/Information-Technology-id4809.aspx) ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

          (http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2-3.htm) ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่

เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

            ( http://gotoknow.org/blog/narumon/31179) เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที (IT) รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้มาก จึงมีการจัดตั้งกระทรวงใหม่ที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้ขึ้น ชื่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเรียกย่อๆ ว่า กระทรวงไอซีที

         สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นไปเสนอได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด

         อ้างอิง

( http://gotoknow.org/blog/narumon/31179)

(http://www.konmun.com/Article/Information-Technology-id4809.aspx)

(http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html)

(http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2-3.htm)
5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


              ก่อ สวัสดิพาณิชย์ (2528:5) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุคใช้ในวงการต่างๆ หรือมาใช้ในงานสาขาต่างๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบงาน

              สมหญิง กลั่นศิริ (2529:5) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยีหมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่มาใช้หรือประยุกต์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่องานในด้านต่างๆ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากคำของนักการศึกษาจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความหมายลึกซึ้งไปกว่าประดิษฐกรรม เครื่องมือหรือเครื่องยนต์กลไกแต่ยังหมายถึงกระบวนการ แนวความคิด แนวทาง หรือวิธีการในการคิดการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งจะเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ปฏิบัติในการแก้ปัญหา

            กิดานันท์ มลิทอง(2540:3) ได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยี(Technology) เป็นคำศัพท์ที่มาจากภาษกรีกว่า Techne หมายถึง ศิปะวิทยาศาสตร์หรือทักษะ (art,science,or skill) และจากภาษาลาตินว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (to weave or to construet) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีไว้ดังนี้ เทคโนโลยีหมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

             เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2545:30) ได้กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีหมายถึง การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่นอันได้จัดระเบียบดีแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานด้านต่างๆ

             ตามความหมายในพจนานากรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เทคโนโลยีหมายถึงวิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

            (http://www.chakkham.ac.th//technology/techno1/c2-1.htm) ได้กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีหมายถึงการประยุกต์นำเอาความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์

           สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีหมายถึงการนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามจุดประสงค์เป้าหมายที่ได้วางไว้

            อ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

2540

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.เทคโนโลยีการศึกษาหลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่1. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2545

พจนานากรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

(http://www.chakkham.ac.th//technology/techno1/c2-1.htm)
4. นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


           (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมแบบทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร

            (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138 ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

            (http://km.naraed2.org/modules.php?name=News&file=article&sid=314 ) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการ หลักปฏิบัติ แนวความคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ซึ่งนำมาใช้แก้ไขปัญหาทางการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาทั้งมวลดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หากมีการนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะเรียกว่านวัตกรรมการเรียนการสอน

            (http://learners.in.th/blog/ruhaya/38252) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

               สรุป

ดั้งนั้นสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ผลและได้ประสิทธิภาพทางการศึกษา

              อ้างอิง

http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138

http://km.naraed2.org/modules.php?name=News&file=article&sid=314

http://learners.in.th/blog/ruhaya/38252

(http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1)
3. นวัตกรรม คืออะไร


          กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) ได้กล่าวไว้ว่านวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้ การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

          ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:61) ได้กล่าวไว้ว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Lnnovation โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม โดย นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมกันเป็นคำว่านวัตกรรม จึงแปลว่า การกระทำที่ใหม่ๆของตนเองหรือการกระทำของตนเองที่ใหม่

         ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:7) ได้กล่าวสรุปแนวคิดเกี่ยวกับ นวัตกรรมไว้ดังนี้ คือ

1) มีการจัดระบบขั้นตอนการดำเนินงานที่เหมาะสมก่อนทำการเปลี่ยนแปลง

2) อาจจะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช่ไม่ได้ผลในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น

3) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าสิ่งใหม่นั้นให้การแก้ปัญหาและดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพ

4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน



            เอกวิทย์ แก้วประสิทธิ (2545:31) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการหรือการกระทำใดๆที่เป็นการกระทำใหม่หรือสิ่งใหม่ที่มีผู้คิดค้นหรืออาจปรับปรุงของเก่าให้ใหม่หรือให้ดีขึ้นเพื่อใช้สิ่งนั้นในการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเกิดนวัตกรรมการศึกษาจะมาจากแนวคิด คือ ด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านความพร้อม ด้านการใช่เวลาเพื่อการศึกษา ด้านความก้าวหน้าทางวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร

          สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรม มีความหมาย 3 นัย คือ นวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน หรือเป็นสิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วแต่นำมาใช่ใหม่ และการนำนวัตกรรมเดิมที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาดัดแปลงใหม่ให้ดีขึ้งและนำมาใช้ใหม่และที่สำคัญคือ นวัตกรรมนั้นจะต้องช่วยในการจัดการเรียนรู้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม

         อ้างอิง

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์      มหาวิทยาลัย, 2540

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แดก เน็ตอินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2552

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. เทคโนโลยีการศึกษาหลักการและแนวคิดสู่ปฎิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2545
2.มีทฤษฏีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และแต่ละทฤษฏีเป็นอย่างไร


(http://kitforever.web.officelive.com/constructivism.aspx) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันมีทฤษฏีการเรียนรู้ต่างๆมากมายซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีดังนี้

Bloom ( Bloom's Taxonomy)

Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ

• ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด

• ความเข้าใจ (Comprehend)

• การประยุกต์ (Application)

• การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้

• การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่

• การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

(http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ (Mayor)

ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน

• พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้

• เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ

• มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

( http://gotoknow.org/blog/yardaroonchat/200976) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)

• ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์

• ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน

• ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ

• ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง

• ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

• เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

(http://tupadu.multiply.com/journal/item/4 ) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)

• ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน

• การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

• บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม

(http://learners.in.th/blog/subhapit/84401) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne)

• การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้

• การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ

• การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว

• ความสามารถในการจำ (Retention Phase)

• ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )

• การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)

• การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)

• การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง



สรุป

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ในทฤษฏีการเรียนรู้แต่ละทฤษฏีนั้นมุ่งเน้นเหมือนกันทุกทฤษฏีคือ การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากวิธีต่างๆ เช่น แรงจูงใจ การสังเกต เป็นต้น

บรรณานุกรม

http://gotoknow.org/blog/yardaroonchat/200976

http://kitforever.web.officelive.com/constructivism.aspx

http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm

http://tupadu.multiply.com/journal/item/4

http://learners.in.th/blog/subhapit/84401