วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การนำเสนอข้อมูลสถิติ

การนำเสนอข้อมูล
        การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ

 ความสำคัญของการนำเสนอ

        ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ 

 จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
  1. เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
  2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ
  4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

 ประเภทของการนำเสนอ

        ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
  1. การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม
  2. การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ

ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

        ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
        1. ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง
        2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน
        คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้
        นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ

 ประเภทของการนำเสนอข้อมูล

การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม
        เมื่อเราพลิกไปในหน้าหนังสือพิมพ์ เรามักพบเห็นข้อมูลกราฟที่แสดงสภาพทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ดัชนีตลาดหลัดทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ลักษณะของกราฟที่นำเสนอมักแสดงด้วยเส้นกราฟ
ตัวอย่างของการนำเสนอยอดขายแต่ละปีของบริษัทแห่งหนึ่งตั้งแต่ปี คศ. 1975 จนถึงปี 1999 โดยมีข้อมูลดังนี้
ภาพ:ยอดขาย.jpg
        การพล็อตแบบอนุกรมเวลา เราให้แกน X เป็นแกนทางด้านเวลา และกราฟที่ พล็อต ก็เป็นกราฟเส้นตรง
ภาพ:ยอดขาย1.jpg
        กราฟเส้นเป็นกราฟที่แสดงให้เห็นแนวโน้มหรือสภาพการเจริญเติบโตที่เปลี่ยนแปลงไปตามแกน X เราจึงมักนำมาใช้ในเรื่องของอนุกรมเวลา เช่น กราฟแสดงการขาย กราฟแสดงการผลิต กราฟแสดงดัชนีที่สำคัญต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ฮิสโตแกรม
        ลองดูตัวอย่างของข้อมูลชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นคะแนนสอบคัดเลือกของนักเรียน 25 คน โดยมีคะแนนเต็ม 200 คะแนน ผู้ที่สอบได้คะแนน ดังต่อไปนี้
ภาพ:คะแนน.jpg
        เมื่อนำคะแนนทั้งหมดมาแจกแจงทางความถี่ผลที่ได้
ภาพ:ระดับชั้น.jpg
        เมื่อนำมาเขียนกราฟแบบฮิสโตแกรมได้ดังรูป
ภาพ:กราฟความถี่.jpg
        กราฟฮิสโตแรม แสดงลักษณะการแจกแจงทางความถี่ เพื่อบอกคุณลักษณะของข้อมูล
กราฟ HI - LO
        ในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ราคาของหุ้นที่มีการซื้อขายกันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามสภาพของความต้องการของผู้ซื้และผู้ขาย ราคาหุ้นของแต่ละบริษัทจึงเคลื่อนไหวได้ หากพิจารณาตัวเลยที่ประกาศบนหน้าหนังสือพิมพ์ มักจะเห็นราคาที่เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ราคาเมื่อเวลาปิดตลาด หรือที่เราเรียกว่าราคาปิด หรือ บางครั้งก็จะบอกราคาเมื่อตอบเปิดตลาด ในระหว่างวันจะมีการเคลื่อนไหวของราคาซึ่งย่อมทำให้มีราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดในแต่ละวัน
        สมมุติว่า เรามีบันทึกราคาหุ้นของบริษัท ก. ที่มีการซื้อขายฝ่ายตลาดหลักทรัพย์ การบันทึกแต่ละวันมีการบอกราคาสูงสุดในวันนั้น และราคาต่ำสุดในวันนั้น ข้อมูลที่ได้เป็นดังนี้
ภาพ:ราคา.jpg
        การเขียนกราฟในลักษณะกำหนดจุดสูงสุด และต่ำสุด ทำให้เราเข้าใจขอบเขตของข้อมูลที่มีการซื้อขายในแต่ละวันได้ดี
ภาพ:กราฟราคา.jpg
กราฟแท่ง
         กราฟแท่งแสดงถึงสภาพการเปรียบเทียบให้เห็นว่า แต่ละแท่งมีความสูงแตกต่างกันอย่างไร เช่นเปรียบเทียบยอดการขายของแต่ละเดือนของบริษัทหนึ่งซึ่งมีข้อมูลดังนี้
ภาพ:กราฟแท่ง.jpg
        เมื่อนำมาทำการเขียนกราฟ รูปแบบของการนำเสนอเป็นกราฟแท่งทำได้หลายแบบ ดังนี้
ภาพ:กราฟแท่ง3_มิติ.jpg
        กราฟแท่งจึงมีลักษณะของการเปรียบเทียบโดยแกน X เป็นแกนที่แสดงกลุ่มของข้อมูลซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลข แต่จะเป็นชื่อข้อมูลเช่นเดียวหรือสินค้าแต่ละชนิด
กราฟวงกลม(pie chart)
        การแสดงข้อมูลในรูปแบบตัวเลยหรือตารางอาจทำให้ดูคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลได้ยาก เช่น ดูแนวโน้ม ดูสัดส่วน ความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละตัว ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการสร้างกราฟให้สื่อความหมาย
        ลองดูตัวอย่างข้อมูล.... แสดงจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงในประเทศไทยในปี 2540 - 2541
ภาพ:ข้อมูล.jpg
        การแสดงข้อมูลในรูปตารางย่อมดูยากที่จะบอกว่า ปี 2540 กับ ปี 2541 เปรียบเทียบกันเป็นอย่างไร วิธีการที่แสดงให้ดูได้ง่ายคือ การแสดงผลในรูปกราฟแท่ง
ภาพ:กราฟแท่ง2.jpg
        หากมองผิวเผิน จะดูได้ทันทีว่าสัตว์แต่ละประเภทมีเท่าไร อะไรมากกว่ากัน แต่ละปีของปีพ.ศ. 2540 และ 2541 มีการเพิ่มลด การเลี้ยงไปเท่าไร การแสดงผลด้วยภาพให้ความสะดวกรวดเร็วในการทำความเข้าใจ แต่ถ้าอยากทราบว่าในปีพ.ศ. 2540 การเลี้ยงสัตว์ประเภทต่างๆ นี้มีสัดส่วนเป็นอย่างไร การเขียนกราฟก็คงต้องใช้กราฟวงกลม ทั้งนี้เพราะกราฟวงกลมช่วยให้เราเข้าใจในเรื่องสัดส่วนได้ดี
ภาพ:กราฟวงกลม.jpg
กราฟ Scattering
        การเขียนกราฟมีวิธีการนำเสนอได้หลายแบบ ตามสภาพที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ สมสุติว่ามีข้อมูลชุดหนึ่งเป็นข้อมูลราคาเฉลี่ยของหุ้นในแต่ละเดือน ของบริษัท ก และบริษัท ข การเขียนกราฟมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเปรียบเทียบคู่ข้อมูลระหว่างเดือนเดียวกันลองดูตัวอย่างข้อมูล
ภาพ:ราคาหุ้น.jpg
        การเปรียบเทียบกันระหว่างเดือนของแต่ละบริษัทจึงใช้วิธีการเขียนกราฟแบบ scatter ซึ่งให้แกน x แทนราคาหุ้นของบริษัท ก และแกน y แทนราคาหุ้นของบริษัท ข จุดที่เขียนได้จึงเป็นจุดที่เป็นคู่ลำดับของราคาหุ้นบริษัท ก และราคาหุ้นของบริษัท ข ซึ่งทุกจุดจึงเป็นสิ่งที่จะเปรียบเทียบกันได้
ภาพ:ราคาหุ้น1.jpg